เดลล์โชว์อินไซต์ 3 กุญแจทำงานแบบไฮบริดให้สำเร็จและยั่งยืน

เดลล์ เทคโนโลยีส์ (Dell) เผยข้อมูลเชิงลึกช่วยองค์กรธุรกิจทั่วเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่นเคลื่อนผ่านการทำงานแบบไฮบริด เวิร์ก ผู้เชี่ยวชาญชี้ 3 กุญแจหลักเพื่ออนาคตการทำงานแบบไฮบริด (hybrid work future) ที่ประสบความสำเร็จและยั่งยืน ประกอบด้วย ความเป็นผู้นำ (Leadership) การวางโครงสร้างที่ดี (Structure) และวัฒนธรรมภายใน (Culture)

นายนพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่าด้วยรูปแบบการทำงานในปัจจุบันที่ไม่ได้ยึดติดอีกต่อไปกับทั้งสถานที่และช่วงเวลา องค์กรธุรกิจต้องหันมาให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ที่ได้ รวมทั้งต้องมีความพร้อมในการที่จะเข้าไปช่วยพนักงานให้ประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของการเป็นมืออาชีพและทั้งในบทบาทส่วนตัวอย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะทำงานจากที่ใดก็ตาม ในขณะที่พนักงาน 8 ใน 10 คนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งประเทศญี่ปุ่นแสดงความพร้อมสำหรับการทำงานแบบรีโมท เวิร์กในระยะยาว แต่ก็ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข

“ในเวลาที่เราก้าวเข้าสู่อนาคตของการทำงาน เราหวังว่าข้อมูลเชิงลึกและการเรียนรู้ต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้องค์กรสามารถ กำหนดรูปแบบพนักงานแบบไฮบริดที่พร้อมสำหรับทุกความต้องการทางธุรกิจได้”

หนึ่งในข้อมูลเชิงลึกที่เดลล์พบ คือในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบผสมผสาน หรือไฮบริด เวิร์ก เสียงเรียกร้องเพื่อให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ใช้ความเอาใจใส่และความตั้งใจนำหน้าในการดำเนินการ คือสิ่งมีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา และเมื่อออกแบบโครงสร้างการทำงานแบบไฮบริด เวิร์ก ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า one-size-fits-all นอกจากนี้ องค์กรไม่ควรมีแนวคิดหรือมองว่ากิจกรรมเพื่อการสร้างวัฒนธรรมภายในเป็นเพียงทางเลือกด้วย

ในรายงานที่ชื่อว่า Leading the Next Hybrid Workforce นี้ มีการระบุข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเสริมรายละเอียดเพิ่มเติมต่อยอดจากผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยดัชนีชี้วัดความพร้อมของการทำงานจากระยะไกล หรือ Remote Work Readiness (RWR) Index ที่เปิดเผยไปในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ตัวรายงานมุ่งศึกษาบทบาทขององค์กรธุรกิจในการออกแบบอนาคตของการทำงานในรูปแบบไฮบริด รวมทั้งยังรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ พร้อมทั้งคำแนะนำที่มาจากผู้เชี่ยวชาญสี่คน ได้แก่ ดร.จูเลียน วอเตอร์ส-ลินช์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัย RMIT ประเทศออสเตรเลีย รวมถึง โรเชลล์ คอปป์ ที่ปรึกษาด้านการจัดการประเทศญี่ปุ่น ดร.ราชิมา ราจา อาจารย์ผู้บรรยายจาก National University of Singapore (NUS) ประเทศสิงคโปร์ และ มัลลอรีย์ ลูน ผู้ร่วมก่อตั้ง Work Inspires ในประเทศมาเลเซีย

สรุปภาพของสิ่งสำคัญหลัก 3 ประการที่องค์กรธุรกิจต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ ความเป็นผู้นำ (Leadership) โครงสร้างที่ดี (Structure)และวัฒนธรรมภายใน (Culture) เนื่องจากทั้งสามนี้วางเรียงเป็นรากฐานสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จและความยั่งยืนของการตระเตรียมการทำงานแบบผสมผสานหรือไฮบริด เวิร์ก โดยผู้เชี่ยวชาญทั้งสี่คนต่างเน้นย้ำว่าผู้นำ คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการประกอบและหลอมรวมชิ้นส่วนต่างๆ ของอนาคตการทำงานแบบไฮบริดเวิร์กเข้าด้วยกัน ผู้นำจำเป็นต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานและการเปลี่ยนแปลงเชิงนวัตกรรมขึ้นภายในองค์กรอย่างชัดเจนเพื่อการเดินหน้าต่อไป กระนั้นยังแสดงออกถึงการเอาใจใส่และความเห็นอกเห็นใจต่อการพยายามที่พนักงานอาจเผชิญอยู่ อาทิ การขาดการสื่อสารแบบตัวต่อตัว ตลอดไปจนถึงเส้นแบ่งที่ลางเลือนระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว

นอกจากนี้ ผู้นำยังต้องพยายามสร้างความไว้วางใจกับพนักงานและยอมรับทัศนคติ (mindset) ที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์เพื่อหลีกเลี่ยงการตกหลุมพรางของการจัดการที่เรียกว่าไมโครแมเนจเม้นต์ หรือการบริหารจัดการที่จับตามองในทุกรายละเอียดปลีกย่อย

สำหรับในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจไม่สามารถเข้าถึงไฮบริด เวิร์กจากเพียงจุดยืนด้านการบริหารจัดการและด้านเทคนิคแล้วใช้รูปแบบ one-size-fits-all ได้ ในทางกลับกัน นายจ้างจำเป็นต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับความชอบของพนักงานและความจำเป็นในการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้พวกเขาประสบความสำเร็จในการสภาพแวดล้อมการทำงานจากระยะไกล ในการร่วมกันออกแบบสถานที่ทำงาน (workplace) แบบไฮบริดที่ครอบคลุม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำแนะนำให้มีการสื่อสารแบบเปิดเผย (open communication) ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยผู้เชี่ยวชาญย้ำถึงความจำเป็นในการหาจุดสมดุลระหว่างการทำงานที่ยืดหยุ่นและการมีระบบระเบียบ ที่มาในรูปแบบของเวลาที่ทุ่มเทให้กับการประชุมทีม หรืออื่นๆ ฯลฯ เพื่อรักษาวัฒนธรรมและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

ที่สำคัญ ผู้เชี่ยวชาญยังเรียกร้องให้มีความพยายามที่รอบคอบมากขึ้นในการสร้างวัฒนธรรมและการเรียนรู้รวมถึงการพัฒนา เพื่อรักษาและจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการทำงานร่วมกัน ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนถึงความเสี่ยงของการแบ่งวัฒนธรรมระหว่างพนักงานที่ทำงานที่บ้าน และพนักงานในสำนักงาน ซึ่งอาจนำไปสู่ความตึงเครียดในพลังการทำงานภายในออฟฟิศและการรับรู้ถึงความไม่สมดุลระหว่างทั้งสองกลุ่ม

ข้อเสนอแนะจากรายงานนี้ชี้ว่า นายจ้างควรเปลี่ยนงบประมาณที่ประหยัดจากค่าใช้จ่ายสำนักงานในแต่ละวัน และลงทุนซ้ำในกิจกรรมที่ทุ่มเทและสม่ำเสมอเพื่อการมีส่วนร่วมทางสังคมในหมู่พนักงาน อาทิ การรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันในทีม หรือการฝึกอบรมแบบที่โต้ตอบกันได้ ซึ่งช่วยสร้างโอกาสเพิ่มเติมสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดแบบออร์แกนิก ตลอดจนโอกาสในการส่งเสริมความไว้วางใจและความสัมพันธ์ในการทำงานที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างสมาชิกในทีม

Leave a Comment