อาลีบาบา คลาวด์เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในไทย พร้อมนำเสนอโซลูชันทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัล

ดาต้าเซ็นเตอร์กำลังมาใกล้ตัวคุณ กับระบบคลาวด์ที่เชื่อมต่อเอดจ์ ไฮบริด และทำงานแบบกระจายศูนย์

ปี 2006 ในงานอุตสาหกรรมงานหนึ่ง ซีอีโอของกูเกิล อีริค ชมิดท์ แนะนำให้รู้จักคำว่า “คลาวด์ คอมพิวติ้ง” ซึ่งความหมายที่ง่ายที่สุด คือ การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต แทนการใช้ฮาร์ดดิสก์ในคอมพิวเตอร์ของคุณ ปัจจุบัน หลายองค์กรรวมถึงหลายหน่วยงานภาครัฐได้นำกลยุทธ์ “cloud first” มาใช้ หลักๆ คือการสมัครใช้บริการจากผู้ให้บริการที่นำเสนอบริการระดับพรีเมียมที่ดีกว่าการสร้างและบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ของตัวเอง

เริ่มจากประเด็นที่เราพิจารณาใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อรองรับการใช้งานของผู้คนจำนวนมากในหลายประเทศ ดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านี้ โดยหลักกลยุทธ์แล้วจะต้องอยู่นอกเขตเมืองหลักไกลออกไป เพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดของเครือข่าย (เพื่อให้ง่ายต่อการเชื่อมต่อไฟเบอร์ระยะไกลโดยไม่ต้องผ่านเครือข่ายในเมือง ต่อมาคือเรื่องของการค้นหาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น โซลูชันดาต้าเซ็นเตอร์บนคลาวด์ในเวอร์ชันที่เล็กลงมาถูกย้ายไปที่เครือข่ายเอดจ์ในภูมิภาค (ส่วนใหญ่อยู่ในหัวเมืองใหญ่ต่างๆ) ซึ่งช่วยปรับปรุงบริการให้ดียิ่งขึ้นด้วยความเร็วสูงขึ้นและลดความล่าช้าสำหรับพื้นที่ในเมืองที่ให้บริการโดยเฉพาะสำหรับพื้นที่นั้นๆ

เมื่อเดินหน้ามาถึงปี 2020 ผู้ใช้คลาวด์รุ่นแรกๆ ต่างต้องการประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นในแง่ของความเร็ว ความพร้อมใช้งาน และสมรรถนะ เพื่อตอบสนองเรื่องเหล่านี้ ผู้ให้บริการคลาวด์ก็พัฒนาแผนเพื่อขยาย data center cloud stacks ที่รวมศูนย์ไปจนถึง “local edge” (อยู่ใกล้กับผู้ใช้มาก กระทั่งอยู่ที่ไซต์งานเลยก็ตาม) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และช่วยให้องค์กรธุรกิจทั้งหลายเก็บข้อมูลไว้เป็นส่วนตัว ช่วยให้ควบคุมข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นและบังคับใช้งานได้ตามกฏระเบียบด้านข้อมูลที่กำหนดไว้ได้อย่างเหมาะสม เป้าหมายของเวอร์ชันที่เป็น local edge คือการใช้เครื่องมือเดียวกัน ช่องทางการเชื่อมต่อ หรือ API เดียวกัน รวมถึงฮาร์ดแวร์ และฟังก์ชั่นการทำงานเดียวกันทั่วทั้ง local edge cloud และ central clouds จากนั้นก็จะทำให้องค์กรธุรกิจสามารถรันระบบโครงสร้างไอทีแบบ on-premises ในลักษณะเดียวกันและให้บริการเหมือนๆ กันได้

และเป้าหมายของแนวคิดนี้ก็คือ mini cloud stack แบบใหม่ หรือที่เรียกว่า “tethered cloud” แต่ใช้ระยะเวลานานมากกว่าที่หลายคนคิดไว้ในตอนแรก ในขณะที่องค์กรเอ็นเตอร์ไพร์ซส่วนใหญ่มีกลยุทธ์ไฮบริดคลาวด์บางอย่างอยู่แล้ว หรือติดตั้งแบบที่ไม่ได้วางกลยุทธ์ก็ตาม ซึ่งการใช้งานลักษณะนี้หลายองค์กรพยายามเลี่ยงในเรื่องเอดจ์ (แบบมีนัย) เลือกโครงการที่ง่ายแบบมีข้อจำกัดเรื่องฟังก์ชันการทำงาน ให้ความเรียบง่ายและเร็ว แต่มีการคืนทุนที่ดี การเดินทางสำหรับ “tethered cloud ในลักษณะเดียวกัน” จึงเกิดขึ้น

• ไมโครซอฟท์ เป็น tethered cloud รายแรกที่เปิดตัวสู่ตลาดด้วย Azure Stack โดยไมโครซอฟท์ขายซอฟต์แวร์ และให้คู่ค้าด้านไอทีที่ผ่านการรับรอง นำเสนอโซลูชันทางกายภาพ เช่น เซิร์ฟเวอร์ สวิทช์ enclosures และ UPS รวมถึงการติดตั้งและบริหารจัดการ ตัวอย่างคือโซลูชันที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เอามารวมกับ HPE

• Amazon Outpost ได้ประกาศเปิดตัวโมเดลธุรกิจที่แตกต่างกันไปเล็กน้อยในเดือนธันวาคม 2019 ซึ่ง AWS ขยายฮาร์ดแวร์ และ service stack โดยลูกค้ามีทางเลือกในการใช้งานและบริหารจัดการได้ด้วยตัวเอง หรือจ่ายให้กับ Amazon เพื่อให้คู่ค้าที่ได้รับการรับรองเป็นผู้ดูแลให้ ซึ่งจะนำเสนอบริการ เครื่องมือ และ APIs ในลักษณะเดียวกับที่ได้จาก AWS cloud อย่างเต็มรูปแบบ

• กูเกิล เป็นผู้เล่นรายใหม่ล่าสุดที่มาพร้อม Google Anthos ซึ่งเป็นระบบเปิดมากขึ้นที่ขยายการใช้งาน Google cloud platform โดยจะให้แพลตฟอร์มตาม software containers และ Google Kubernetes Engine (GKE) ที่ช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาเวิร์คโหลดที่สามารถรันได้ทั้งบน on-premise ใน tethered clouds หรือบน Google Central ClouKeyw

ไฮบริดคลาวด์พื้นฐานส่วนใหญ่ หมายถึง การมีแอปพลิเคชันทั้งหมดหรือการบริการอยู่บนเครือข่ายเดียวกัน แต่ไอทีและซอฟต์แวร์อยู่คนละที่ แอปพลิเคชันบางโปรแกรมรันอยู่ในพื้นที่ และบางส่วนอยู่บนคลาวด์ เมื่อเริ่มผสานรวม data plane คุณก็จะเข้าไปยังสิ่งที่เราเรียกว่า ไฮบริดคลาวด์ที่ผูกกันอยู่หลวมๆ ซึ่งแอปพลิเคชันบน local edge และที่ระบบโครงสร้างส่วนกลาง ใช้ data plane เดียวกันในการส่งข้อมูลและทำการจัดเก็บ การผสานรวมการทำงานในขั้นตอนต่อไป คือ การผูกกับระบบไฮบริดคลาวด์อย่างจริงจัง ซึ่งจะผสานรวมกันทำงานในส่วนของ control plane โดย control plane จะควบคุมการทำงานของ data plane และใช้โปรโตคอลในการจัดเส้นทาง วางกฏระเบียบและนโนบายเพื่อใช้ร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมดหรือโหนดในเครือข่ายเพื่อสร้างหรือตอบสนองต่อทราฟฟิกของข้อมูล นี่คือพื้นฐานในการจำลองบริการ central cloud ในพื้นที่

อย่างไรก็ตาม มันอาจจะไม่ใช่บริการคลาวด์ทั้งหมดที่คุณมี แต่เมื่อคุณมีบริการคลาวด์ทั้งหมดที่เหมือนกัน มีประสบการณ์จากการใช้อุปกรณ์หรือโหนดใดๆ ก็ตามบนเครือข่ายได้เหมือนกันหมด นั่นคือสิ่งที่เราเรียกว่าเป็นการเชื่อมโยงไฮบริดคลาวด์เข้ากับเอจด์เพื่อการทำงานแบบกระจายศูนย์ได้อย่างแท้จริง ประโยชน์เสริมที่คุณจะได้คือเรื่องของ redundancy หรือระบบสำรองในกรณีที่การเชื่อมต่อไปยัง central cloud หรือ tethered cloud ในพื้นที่หายไป

คลาวด์ที่เชื่อมโยงกับ local edge จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้ในองค์กรเอ็นเตอร์ไพร์ซ ดังต่อไปนี้

ขยายระบบไอทีได้อย่างยืดหยุ่น ขยายไปสู่คลาวด์หลักส่วนกลางในเวลาที่ต้องการได้

• เพิ่ม Redundancy ด้วยบริการ “like-for-like” ที่จำลองบริการเหมือนกันบนคลาวด์ส่วนกลาง

บริการคลาวด์แบบรวมศูนย์จะยังคงมีบทบาทสำคัญ แม้ว่าจะมีความต้องการในเรื่องของ local edge อยู่ก็ตาม บริการคลาวด์แบบรวมศูนย์จะยังคงความสำคัญในเรื่องการจัดเตรียมระบบล่วงหน้า (provisioning) การบริหารจัดการ และการอัพเดตซอฟต์แวร์และการบริการบน tethered clouds ในขณะที่หลายองค์กรที่แตกต่างกัน ต่างต้องเผชิญความท้าทายที่หลากหลายเมื่อเป็นเรื่องของกลยุทธ์ด้านคลาวด์ ที่ไม่มีคำตอบตายตัว อย่างไรก็ตาม tethered clouds ช่วยให้องค์กรทั้งหลายมีทางเลือกที่แตกต่างกันในการลดความล่าช้า เพิ่มระบบสำรอง หรือควบคุมแอปพลิเคชันและข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น อนาคต คือ ระบบคลาวด์ที่เชื่อมต่อกับ local edge และมันกำลังมาใกล้คุณในอีกไม่ช้า

อาลีบาบาคลาวด์เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ในไทย รองรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

อาลีบาบา คลาวด์ (Alibaba Cloud) ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป (Alibaba Group) เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในไทย พร้อมสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลขององค์กรธุรกิจในประเทศ ซึ่งสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ของรัฐบาลไทยในการเสริมสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และความยั่งยืนให้กับประเทศ

การเปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในประเทศไทย ในช่วงเวลาที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย (PDPA) จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน เป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอาลีบาบา คลาวด์ ที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ เมื่อเข้ามาดำเนินงานในประเทศ ควบคู่กับการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ปลอดภัยเข้ามาสู่ประเทศไทย ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งนี้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO27001 และ ISO20000 และเป็นไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย รวมถึงกฎระเบียบด้านการเงินที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

นายไทเลอร์ ชิว ผู้จัดการประจำประเทศไทยของอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า ในขณะที่เราขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เรายังคงให้ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูล การเปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่นี้ เรามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับต่าง ๆ ของประเทศไทย นอกจากนี้ เราต้องการนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของบริษัทฯ มานำเสนอในประเทศไทย รวมถึงองค์ความรู้เฉพาะทางด้านต่าง ๆ อาลีบาบา คลาวด์ ประสบความสำเร็จในการช่วยสนับสนุนธุรกิจทั่วโลกให้ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย และเราหวังว่าบริษัทฯ จะสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่ครบครันเพื่อช่วยผลักดันวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน

บริการด้านการรักษาความปลอดภัยที่นำเสนอให้แก่ลูกค้าในไทย ได้แก่ บริการป้องกันการโจมตีแบบ DDoS, WAF, ศูนย์ความปลอดภัย, การตรวจสอบการดำเนินการ, บริการใบรับรอง SSL และการจัดการการเข้าถึงทรัพยากร โดยบริการบางประเภทที่กล่าวมานี้ได้ถูกใช้งานจริงเพื่อรองรับการดำเนินงานอย่างราบรื่นในช่วงที่มีการจัดมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลก 11.11 ของอาลีบาบา กรุ๊ป ซึ่งเป็นหนึ่งในมหกรรมช้อปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

บริการด้านการรักษาความปลอดภัยเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับแพลตฟอร์ม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการป้องกันเชิงรุก การตรวจจับภัยคุกคาม การตรวจสอบและการตอบสนอง เช่น การปกป้องซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ให้รอดพ้นจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware), มัลแวร์สำหรับการขุดเหรียญและแบ็คดอร์ (Mining and Backdoor) และโทรจัน (Trojan) เพื่อลดปัญหาในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ในแง่ของสถาปัตยกรรม ศูนย์ความปลอดภัยของอาลีบาบา คลาวด์ ยังสามารถทำการตรวจสอบประเมินให้กับองค์กรธุรกิจ เพื่อปกป้องเซิร์ฟเวอร์ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่สำคัญอื่น ๆ ที่บริษัทฯ ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทยพร้อมกับดาต้าเซ็นเตอร์ ได้แก่ ระบบประมวลผลที่ยืดหยุ่น (elastic compute) บริการด้านดาต้าเบส ด้านเน็ตเวิร์ก และ สตอเรจ รวมถึงบริการสำหรับนักพัฒนา การส่งคอนเทนต์ และแอปพลิเคชันระดับองค์กรต่าง ๆ

ผลิตภัณฑ์ของอาลีบาบาคลาวด์ได้ผ่านการทดสอบความแข็งแกร่งของสมรรถนะ ทั้งนี้บริษัทวิเคราะห์ชั้นนำระดับโลก เช่น ไอดีซี ระบุว่าผลิตภัณฑ์ CDN ของบริษัทฯ เป็นผู้เล่นรายสำคัญ ขณะที่เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ได้รับการจัดอันดับเป็น “ผู้นำ” โดยฟอเรสเตอร์ ส่วนผลิตภัณฑ์ด้านดาต้าเบสของอาลีบาบาคลาวด์ได้รับการจัดอันดับเป็น “ผู้นำ” ในรายงาน Gartner Magic Quadrant และการ์ทเนอร์ ยังรับรองความสามารถด้านคลาวด์ที่สำคัญของบริษัทฯ ทั้งในส่วนของระบบประมวลผล สตอเรจ เน็ตเวิร์ก และระบบรักษาความปลอดภัย ว่าอยู่ในระดับเทียบเท่าผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลก

อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้เทคโนโลยีในประเทศ และนำความสามารถทางเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาในประเทศไทยผ่านการสนับสนุนของพันธมิตร ทั้งนี้ตั้งแต่บริษัทฯ เปิดตัวโปรแกรม Thailand Partner Alliance 100 เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว บริษัทฯ มีพันธมิตรมากกว่า 40 รายเข้าร่วมโครงการเพื่อทำธุรกิจและเติบโตไปด้วยกันกับอาลีบาบาคลาวด์ เช่น บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT), สมาคมฟินเทคประเทศไทย, ไฮคลาวด์ (HiCloud), บริษัท ที เอ็ม อี เอส จำกัด (TMES), ทรูไอดีซี (True IDC), ทรู ดิจิทัล อคาเดมี (True Digital Academy), เอสไอเอส (SIS) นอกจากการขายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทฯ แล้ว อาลีบาบา คลาวด์ยังจะทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างสรรค์โซลูชันใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจไทยอีกด้วย

นายดิเอโก หม่า ซีอีโอของไฮคลาวด์ กล่าวว่า เราร่วมมือกับอาลีบาบา คลาวด์ นำเสนอโซลูชันระดับแนวหน้าของโลกให้กับลูกค้าไทย เพื่อให้ธุรกิจของลูกค้าเหล่านี้ได้ใช้คลาวด์เพิ่มขึ้น อาลีบาบา คลาวด์ พยายามสร้างระบบนิเวศในประเทศ โดยให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มากมายกับเรา เช่น การฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถ และโอกาสทางการตลาดร่วมกัน เพื่อขยายการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ให้กับฐานลูกค้าที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น และช่วยลูกค้าของเราให้เปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลได้เร็วขึ้น

ในแง่ของกลยุทธ์ อาลีบาบา คลาวด์ ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมสำคัญหลายกลุ่ม เช่น ธุรกิจค้าปลีกและโลจิสติกส์ การเงินและฟินเทค ความบันเทิงดิจิทัล และบริการภาครัฐ ผลิตภัณฑ์และโซลูชันของอาลีบาบา คลาวด์ ที่รองรับอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิภาพจากการใช้งานจริงของลูกค้าระดับโลก เช่น Singapore Post, Binangonan Rural Bank (ฟิลิปปินส์), Animal Logic (ออสเตรเลีย) และพันธมิตรระดับโลก เช่น Red Hat, Salesforce และ VMware

อาลีบาบา คลาวด์ ครองตำแหน่งผู้นำอันดับหนึ่งด้านการให้บริการคลาวด์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตามข้อมูลจากไอดีซี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ที่สุด 3 อันดับสูงสุดเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ตามการจัดอันดับของการ์ทเนอร์ ปัจจุบันอาลีบาบา คลาวด์ เปิดให้บริการใน 84 เขตพื้นที่ใน 27 ภูมิภาคทั่วโลก และได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลราว 80 รายการทั่วโลก โดยสามารถแก้ไขปัญหาช่องโหว่ของระบบมากกว่า 7.3 ล้านครั้งต่อปี

เพื่อรองรับการพัฒนาที่ยั่งยืน อาลีบาบา คลาวด์ ตั้งเป้าที่จะปรับปรุงดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกให้เปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดทั้งหมดภายในปี 2573 นอกจากนี้ อาลีบาบา กรุ๊ป ยังเข้าร่วมกลุ่มความร่วมมือ Low Carbon Patent Pledge เพื่อกระตุ้นการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนับเป็นครั้งแรกที่บริษัทฯ เปิดให้มีการใช้งานสิทธิบัตรทางเทคโนโลยีประหยัดพลังงานของบริษัทฯ 9 ฉบับได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

อาลีบาบา คลาวด์เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในไทย พร้อมนำเสนอโซลูชันทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัล

กรุงเทพฯ – ประเทศไทย -12 พฤษภาคม 2565 อาลีบาบา คลาวด์ (Alibaba Cloud) ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป (Alibaba Group) เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในไทย มุ่งสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลของ

การเปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในประเทศไทยในช่วงเวลาที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย (PDPA) จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้เป็นการเน้น ย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอาลีบาบา คลาวด์ที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ เมื่อเข้ามาดำเนินงาน ในประเทศ ควบคู่กับการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ปลอดภัยเข้ามาสู่ประเทศไทย โดยดาต้า เซ็นเตอร์แห่งนี้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO27001 และ ISO20000 และเป็นไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย รวมถึงกฎระเบียบด้านการเงินที่ออก โดยธนาคารแห่งประเทศไทย

ไทเลอร์ ชิว ผู้จัดการประจำ ประเทศไทย อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ ข้อมูล สำหรับการเปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่นี้ เรามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับต่าง ๆ ของประเทศไทย พร้อมกันนี้เราต้องการนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของบริษัทฯ มานำเสนอในประเทศไทย

“อาลีบาบา คลาวด์ ประสบความสำเร็จในการช่วยสนับสนุนธุรกิจทั่วโลกให้ประสบความสำเร็จมากมาย และเราหวังว่าบริษัทฯ จะสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่ครบครันเพื่อช่วยผลักดันวิสัยทัศน์ของประเทศไทย ไทเลอร์ ชิว

สำหรับบริการด้านการรักษาความปลอดภัยที่นำเสนอให้แก่ลูกค้าในไทย ได้แก่ บริการป้องกันการ โจมตีแบบ DDoS, WAF, ศูนย์ความปลอดภัย, การตรวจสอบการดำเนินการ, บริการใบรับรอง SSL และการจัดการการเข้าถึงทรัพยากร ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับแพลตฟอร์ม รวมทั้งเพิ่ม ประสิทธิภาพให้กับการป้องกันเชิงรุก การตรวจจับภัยคุกคาม การตรวจสอบและการตอบสนอง เช่น การปกป้องซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ให้รอดพ้นจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware), มัลแวร์สำหรับการขุดเหรียญและแบ็คดอร์ (Mining and Backdoor) และโทรจัน (Trojan) เพื่อลดปัญหาในการดำเนินงาน

นอกจากเปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยอย่างเป็นทางการแล้ว บริษัทฯ ยังเปิดตัวผลิตภัณฑ์และ

ไทเลอร์ ชิว กล่าวถึง เหตุการณ์สำคัญของอาลีบาบา คลาวด์ในไทยว่า ตั้งแต่ ปี 2019 อาลีบาบา คลาวด์ได้เริ่มหาพาร์ทเนอร์ในไทย มีการเตรียม Ecosystem สร้างกลุ่มคนที่มีความสามารถ ซึ่งจะเป็นเจเนอเรชั่นที่สำคัญ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการอุตสาหกรรมด้าน Transformation ในปี 2020 มีการ Training Partner เรื่องคลาวด์และบิ๊กดาต้า ในเดือนพฤษภาคม ได้จัดตั้งบริษัท อาลีบาบา คลาวด์ ในไทย โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มีความร่วมมือกับ Partner ด้าน Retail Solution และสร้าง Partner System กับ True Digital Academy ในปี 2021 มีลูกค้า Solution Gameนำแพลตฟอร์มไปขึ้นบนอาลีบาบา คลาวด์ รวมทั้งลูกค้า Solution Logistics ด้วย

อาลีบาบา คลาวด์ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้เทคโนโลยีในประเทศ และนำความสามารถ Thailand Partner Alliance 100 เมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีพันธมิตรมากกว่า 40 รายเข้าร่วมโครงการ เพื่อทำธุรกิจและเติบโตไปด้วยกันกับอาลีบาบาคลาวด์ เช่น บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT), สมาคมฟินเทคประเทศไทย, ไฮคลาวด์ (HiCloud), บริษัท ที เอ็ม อี เอส จำกัด (TMES), ทรูไอดีซี (True IDC), ทรู ดิจิทัล อคาเดมี (True Digital Academy), เอสไอเอส (SIS)

สำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดในไทย อาลีบาบา คลาวด์ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมสำคัญหลาย กลุ่ม เช่น ธุรกิจค้าปลีกและโลจิสติกส์ การเงินและฟินเทค ความบันเทิงดิจิทัล และบริการภาครัฐ นอกจากการขายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทฯ แล้ว อาลีบาบา คลาวด์ยังจะทำงานร่วมกับพันธมิตร

Leave a Comment