Hardware (ฮาร์ดแวร์) คืออะไร เครื่องมือ เครื่องจักร ชิ้นส่วน อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็นจับต้องได้

ฮาร์ดแวร์ - คอมพิวเตอร์

หมายถึง ส่วนประกอบที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรามองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอแสดงผล เมาส์ และคีย์บอร์ด นอกจากนั้นยังรวมถึงส่วนประกอบที่อยู่ภายในตัวเครื่องก็รวมเป็นฮาร์ดแวร์ด้วย เช่น เมานบอร์ด ชิปซีพียู ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ดีวีดี/บลูเรย์ การ์ดแสดงผล และการ์ดเสียง เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่างคอมพิวเตอร์ต้อง ทำความรู้จัก เพราะการเลือกซื้ออุปกรณ์ ขั้นตอนการประกอบเครื่อง หรือการแก้ปัญหาเครื่อง เราจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้ทั้งสิ้น

เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น จอภาพ ( Monitor )เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพ ที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด 1. จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้ จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสาร เหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เรา เรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของ ฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย 2.จอแอลซีดี ( LCD : Liquid Crystal Display ) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบ กับจอภาพแบบซีแอลที การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้น อาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาด ที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่ โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่อง เดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน

พาวเวอร์ซัพพลาย ( Power Supply)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือก พาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ

อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด

เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys)กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys)หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ(Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์ และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก

แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่ง เป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด คือ หน่วยประมวลผลกลางในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เจ้าซีพียู(CPU:Central Processing Unit) นี้เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ภายในประกอบไปด้วยสารกึ่งตัวนำทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า ซิลิกอน(Silicon) โดยนำซิลิกอนมาเจือกับวัสดุบางชนิดเพื่อให้เกิดสภาวะของการนำไฟฟ้าได้ ซิลิกอนที่ผ่านการเจือเหล่านี้ จะถูกนำมาเรียงต่อกันเป็นทรานซิสเตอร์ ซีพียู(CPU :Central Processing Unit)มีจำนวนหลายสิบล้านตัวเลยทีเดียวครับ มีหน้าที่ คือ ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลก็ตาม แม้แต่การทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ต้องอาศัยการสั่งการจากซีพียู (CPU:Central Processing Unit)เสมอ การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่น สามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับ ข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย แรม ( Ram)

RAM ย่อมาจาก Random Access Memory RAM คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ (เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว ซึ่งหมายถึงจะสามารถทำงานได้เมื่อ มีกระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง เมื่อมีการตัดกระแสไฟฟ้าหรือ ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลใน RAM ก็จะหายไป) RAM เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อประสิทธิภาพ การทำงานโดยรวม รวมถึงความเร็วในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ advertisements RAM ทำหน้าที่อะไร RAM ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือชุดคำสั่งจากโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆที่กำลังเปิดใช้งานอยู่ในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งต่อไปยัง CPU หรือ Central Processing Unit ซึ่งเป็นหัวใจหรือสมองของคอมพิวเตอร์นั้นๆให้ประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์ข้อมูลตามต้องการ เมื่อ CPU คำนวณเสร็จแล้ว จะส่งผลการคำนวณหรือวิเคราะห์นั้นๆกลับมายัง RAM เพื่อส่งต่อไปยังโปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง ก่อนจะแสดงผลของการคำนวณออกมาทาง Output devices ต่างๆ เช่น ทางหน้าจอมอนิเตอร์หรือ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)

ถือว่ามีความสำคัญมาก ถ้าหากไม่มีฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของคุณจะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดสื่อหลักที่ใช้ใน การเก็บบันทึกข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความจุที่ค่อนข้างสูง ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานเหล็กกลมแบบที่ใช้บันทึกข้อมูลวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ และยึดติดกับมอเตอร์ที่มีความเร็วในการหมุนหลายพันรอบต่อนาทีโดยมีแขนเล็กๆที่ยื่นออดมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านซึ่งใช้สำหรับการ อ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก การอ่านหรือเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่หัวอ่าน ขนาดของจานที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 นิ้ว ส่วนถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ของ โน้ตบุ๊คก็ประมาณ 2.5 นิ้ว

ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ - วิกิพีเดีย

ส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หรือ ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer hardware) หรือเรียกย่อว่า ฮาร์ดแวร์ (อังกฤษ: hardware) เป็นชุดขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ประกอบรวมกันเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบกายภาพ เช่น จอภาพ เมาส์ คีย์บอร์ด แหล่งเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ การ์ดจอ การ์ดเสียง หน่วยความจำ (RAM) แผงวงจรหลัก เป็นต้น ทั้งหมดเป็นวัตถุที่จับต้องได้[1] ในทางกลับกัน ซอฟต์แวร์ คือชุดคำสั่งที่สามารถจัดเก็บและทำงานด้วยฮาร์ดแวร์

ซอฟต์แวร์เป็นชุดของคำสั่งที่เครื่องอ่านได้ใด ๆ ที่กำหนดการทำงานคำสั่งต่าง ๆ ของหน่วยประมวลผล ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมกันได้เป็นระบบคอมพิวเตอร์พร้อมใช้งาน[2]

ความจริง ขอบเขตที่แบ่งระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ไม่ได้ชัดเจน เพราะระหว่างกลางอาจจะมีเฟิร์มแวร์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างมาโดยเฉพาะ เพื่อฝังไว้ในฮาร์ดแวร์อยู่ด้วย โดยที่ผู้ใช้ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องกังวลกับเฟิร์มแวร์เหล่านี้ เพราะเป็นส่วนที่โปรแกรมเมอร์ และวิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ดูแล

Hardware (ฮาร์ดแวร์) คืออะไร เครื่องมือ เครื่องจักร ชิ้นส่วน อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็นจับต้องได้

Hardware (ฮาร์ดแวร์) คือ เครื่องมือ เครื่องจักร ชิ้นส่วน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็น และจับต้องได้

ในระบบคอมพิวเตอร์นั้น ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ด้วย

ตัวอย่างของฮาร์ดแวร์ เช่น CPU (ซีพียู), RAM (แรม), Display adapter (ดิสเพล์ อแดบเตอร์), Hard disk (ฮาร์ดดิส), Chipsets (ชิบเซส), Mainboard (เมนบอร์ด), Power supply (พาวเวอร์ ซัพพลาย), จอ Monitor (มอนิเตอร์), Keyboard (คีบอร์ด), Mouse (เมาส์), Modem (โมเดม), Router (เร้าเตอร์),Hub (ฮับ), เครื่องพิมพ์, Flash drive (เฟรชไดช์), Card reader (การ์ด รีดเดอร์), Sound card (ซาวการ์ด), Air card (แอร์ การ์ด), Optical drive (ออฟติคอล ไดรซ์), USB Port (ยูเอสบี พอร์ต) และ สายต่อเชื่อมสัญญาณประเภทต่างๆ เป็นต้น

สามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ตามลักษณะการทำงานได้ 4 หน่วย โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน

1. หน่วยรับข้อมูล Input Unit (อินพุต ยูนิต)

2. หน่วยประมวลผลกลาง CPU : Central Processing Unit (เซนทอล โปรเซสชิง ยูนิต)

3. หน่วยแสดงผล Output Unit(เอาร์พุต ยูนิต)

4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง Secondary Storage(เซคคอนเดรี่ สตอเรส)

ตัวฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ นั้นจะไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องอาศัยชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่าง ๆ ในการสั่งงาน โดยที่ชุดคำสั่งเหล่านี้อาจจะอยู่ใน ROM (รอม) ของฮาร์แวร์นั้น ๆ อาจจะเป็นชุดคำสั่งจากระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งจากโปรแกรมขับเคลื่อน Driver (ไดรเวอร์) หรือชุดคำสั่งจากโปรแกรม Soft Ware (ซอฟแวร์) สำเร็จรูปก็ได้

Hardware (ฮาร์ดแวร์) จะมีความหมายตรงข้ามกัน Software (ซอฟแวร์)

software(ซอฟแวร์) หมายถึง สิ่งที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น เนื่องจากเป็นชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์

Leave a Comment