Big Data คืออะไร นำมาใช้ประโยชน์กับอะไรได้บ้าง?

ข้อมูลมหัต - วิกิพีเดีย

ภาพข้อมูลการแก้ไขวิกิพีเดีย สร้างโดยไอบีเอ็ม ข้อมูลหลายเทราไบต์ที่มีทั้งข้อความและรูปภาพของวิกิพีเดียเป็นตัวอย่างที่แพร่หลายของ big data ภาพข้อมูลการแก้ไขวิกิพีเดีย สร้างโดยไอบีเอ็ม ข้อมูลหลายเทราไบต์ที่มีทั้งข้อความและรูปภาพของวิกิพีเดียเป็นตัวอย่างที่แพร่หลายของ big data

ในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลมหัต หรือ ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือนิยมทับศัพท์ บิ๊กเดทา, บิ๊กดาต้า (อังกฤษ: Big data) [1][2][3] คือชุมนุมของชุดข้อมูลที่มีขนาดและความซับซ้อนมาก จนมันยากที่จะประมวลผลได้ด้วยเครื่องมือจัดการฐานข้อมูลที่มีอยู่ ความท้าทายนี้รวมถึงการจับบันทึก การจัดเก็บ[4] การค้นหา การแบ่งปัน การวิเคราะห์[5] และการวาดภาพข้อมูล แนวโน้มของชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่ใหญ่ขึ้นเป็นผลจากสารสนเทศเพิ่มเติมที่ได้มาจากการวิเคราะห์ชุดข้อมูลชุดใหญ่ชุดเดียวของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน เทียบกับชุดข้อมูลย่อยๆ หลายชุดที่แยกจากกันที่มีขนาดรวมกันแล้วเท่ากัน สิ่งนี้อนุญาตให้ความเชื่อมโยงถูกค้นพบได้ เพื่อ "หาแนวโน้มทางธุรกิจ ตัดสินคุณภาพของงานวิจัย ป้องกันโรค วิเคราะห์การอ้างอิงกฎหมาย ต่อสู้กับอาชญากรรม และบอกสภาพการจราจรตามเวลาจริง"[6][7][8]

หนังสือ กรอบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ | GBDi

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องบิ๊กดาต้าอย่างกว้างขวางตามกระแสโลก องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มปรับตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อประกอบการตัดสินใจ (Data Driven Decision) และการดำเนินงาน (Insight to Operation) ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม องค์กรภาครัฐซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศจึงควรต้องคำนึงถึงการบูรณาการและการให้บริการข้อมูลข้ามหน่วยงานภาครัฐ ตลอดไปจนถึงการให้บริการข้อมูลที่ไม่มีชั้นความลับแก่ภาคเอกชน

คณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายเพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) และคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ได้มีมติเห็นชอบต่อกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (Government Big Data Analytics Framework) และให้แต่ละกระทรวงนำกรอบฉบับนี้ไปศึกษารายละเอียดและทดลองใช้ ทั้งยังได้มีมติให้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่ใช้ชื่อว่า สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (Government Big Data Institute: GBDi) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Promotion Agency: depa) (องค์การมหาชน)

โดยหน่วยงาน GBDi มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมให้เกิดโครงการและสนับสนุนการดำเนินงานด้านบิ๊กดาต้าสำหรับหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้ GBDi จะดำเนินงานร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในการวางกรอบด้านการใช้ประโยชน์ข้อมูลของประเทศโดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การพัฒนาการใช้ประโยชน์ข้อมูลภาครัฐให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถบูรณาการและให้บริการข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบ รวดเร็ว ปลอดภัย และควบคุมได้ ซึ่งจะนำไปสู่การวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต ดังอธิบายในเอกสารฉบับนี้

Big Data คืออะไร นำมาใช้ประโยชน์กับอะไรได้บ้าง?

Big Data เป็นคำที่ถูกเรียกใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจ เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลกำลังมีความก้าวหน้าถึงขีดสุดในปัจจุบัน ข้อมูลสำคัญต่างๆ ก็ได้ถูกสร้างขึ้นอย่างมหาศาล รอการนำไปต่อยอดเพื่อโอกาสทางธุรกิจอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

มาทำความรู้จักกับ Big Data แหล่งข้อมูลเหล่านี้สำคัญอย่างไร และนำไปพัฒนาต่อยอดในธุรกิจอย่างไรได้บ้าง สามารถหาคำตอบได้ที่บทความนี้

Big Data หมายถึงชุดข้อมูลใดๆ ก็ตามที่มีขนาดใหญ่และถูกเก็บบันทึกไว้ผ่านวิธีการต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นฐานข้อมูลภายในองค์กรของคุณเอง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการทำ transaction ต่างๆ หรือข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า

บริษัท International Data Corporation (IDC) คาดการณ์ว่าปริมาณข้อมูล (Data) ที่เกิดขึ้นบน Digital Platform ภายในปี 2020 จะมีจำนวนมากถึง 40 Zettabyte หรือเทียบเท่ากับ 40 ล้านล้าน Gigabyte เลยทีเดียว

ชุดข้อมูลมหาศาลเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำ Customer Insight โดยเป็นส่วนสำคัญสำหรับนำไปพัฒนาระบบ AI เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้อย่างตรงจุด ตัวอย่างเช่น Chatbot บนแพลตฟอร์ม Facebook เพื่อนำเสนอคำตอบที่ตรงใจ และชักจูงให้ลูกค้าสนใจสินค้าหรือบริการมากที่สุด

ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่แต่ละองค์กรควรจะเริ่มทำการเก็บข้อมูลและนำมาใช้ต่อยอดธุรกิจ การมีข้อมูลที่มากกว่าจะทำให้คุณทำความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้ดียิ่งกว่าคู่แข่ง ทำให้คุณสามารถแข่งขันและขึ้นไปยืนอยู่บนจุดสูงสุดของการทำธุกิจได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า ข้อมูลยิ่งมีมากเท่าใดโอกาสที่จะประสบความสำเร็จขององค์กรก็มีมากเท่านั้น

โดย Big Data นั้นสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามโครงสร้างของชุดข้อมูลได้ดังนี้

หมายถึง ชุดข้อมูลที่มีการจัดเรียงโครงสร้างอย่างเป็นระเบียบ มีความชัดเจน หรือระบุได้ด้วยตัวเลข พร้อมใช้งานได้ทันที เช่น จำนวนการซื้อขายกับลูกค้า เปอร์เซ็นต์ความเคลื่อนไหวภายในตลาดหุ้น ฯลฯ

หมายถึง ชุดข้อมูลที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน หรือไม่สามารถระบุความแน่นอนของข้อมูลนั้นๆ ได้ ยังไม่สามารถประมวลผลเพื่อนำไปใช้ได้ทันที อย่างเช่น บทสนทนาโต้ตอบกับลูกค้าทาง Social Media

หมายถึง ชุดข้อมูลที่มีโครงสร้างระดับหนึ่งแต่ยังไม่สมบูรณ์ เช่น สเตตัสใน Social Media เป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง แต่ในกรณีที่มี Hashtag (#) เข้ามาช่วยในการจัดหมวดหมู่ จะทำให้ข้อมูลมีความเป็นระเบียบขึ้นมาเล็กน้อย

คุณสมบัติของ Big Data นั้น จะมีลักษณะโดยรวมอยู่ 6 ประการด้วยกัน หรือที่มีการพูดถึงในชื่อ “5Vs 1C” โดยคุณลักษณะทั้ง 6 ของ Big Data นั้น มีดังนี้

หมายถึง มีปริมาณข้อมูลอยู่มาก มีขนาดใหญ่ สามารถนับรวมได้ทั้งข้อมูลแบบออนไลน์และแบบออฟไลน์ โดยข้อมูลต้องมีขนาดใหญ่เกินกว่า Terabyte

ยกตัวอย่างเช่น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรทั่วโลกที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งแต่ละคนมีพฤติกรรมการใช้งานข้อมูลที่หลากหลาย ทำให้ปริมาณของข้อมูลที่เกิดขึ้นมีจำนวนมหาศาล

ยกตัวอย่างผ่านพฤติกรรมของ Social Media User ที่ในแต่ละวันสามารถสร้างชุดข้อมูลได้หลากหลาย เช่น การคอมเมนต์ลงในโพสต์ทาง Facebook จัดเป็นข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง เพราะไม่สามารถคาดเดาคำตอบและโพสต์ที่เขาสนใจจากคอมเมนต์ได้

หรือการโพสต์ลงบน Twitter ที่สามารถจัด Category ของแต่ละโพสต์ผ่าน Hashtag ได้ แต่ก็ไม่สามารถระบุโครงสร้างหรือความหมายของ Hashtag นั้นได้อย่างชัดเจน นี่จึงจัดเป็นข้อมูลกึ่งโครงสร้าง

ส่วนข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามผ่าน Google Form ที่มีคำถามและคำตอบให้เลือกอย่างชัดเจน และข้อมูลนั้นสามารถนำไปใช้ต่อได้เลยทันที จะจัดว่าเป็นชุดข้อมูลแบบมีโครงสร้าง

เนื่องจากการใช้งานของ Social Media User นั้นไม่ได้เป็นระเบียบแบบแผนตายตัว ทำให้นอกจากมีปริมาณข้อมูลเกิดขึ้นอย่างมหาศาลแล้ว ข้อมูลเหล่านั้นยังเต็มไปด้วยความหลากหลายและซับซ้อนอีกด้วย

หมายถึง ข้อมูลที่มีการเพิ่มขึ้นและเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดข้อมูลแบบ Real-time มากมาย อย่างเช่นข้อมูลการจราจร ซึ่ง Google Map ก็ได้ใช้ประโยชน์จากการเข้าถึง GPS ของผู้ที่สัญจรไปมาบนท้องถนน เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอเส้นทางที่การจราจรคล่องตัวที่สุดให้กับผู้ใช้งาน

หมายถึง ข้อมูลที่มีคุณค่าต่อการนำไปใช้งาน สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลผ่าน Google ที่ทำให้สามารถทราบถึงความสนใจของผู้คนในช่วงเวลานั้นๆ ได้

เนื่องจาก Big Data นั้นรวบรวมข้อมูลไว้เป็นจำนวนมหาศาล เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความถูกต้องชัดเจนของข้อมูล ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลเพื่อการใช้งานต่อในอนาคตได้

การจะใช้ประโยชน์จาก Big Data ได้นั้น มีอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญนั่นก็คือความเชื่อมโยงกันของข้อมูล หากสิ่งที่รวบรวมมานั้นไม่สามารถหาจุดเชื่อมโยงกันได้ ข้อมูลเหล่านั้นก็ไร้ประโยชน์ การเก็บ Data ที่มีประสิทธิภาพนั้นจึงต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์กันของข้อมูลด้วย

จากคุณสมบัติของ Big Data ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น มาดูกันว่าสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถสรุปออกมาได้ทั้งหมด 3 ประการ ดังนี้

Big Data ส่งผลเป็นอย่างมากต่อการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ด้วยชุดข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ทำให้มองเห็น pain point ของธุรกิจที่กำลังจะเริ่มเข้าไปได้ง่ายขึ้น และสามารถสร้างธุรกิจที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจ Local Food Delivery ที่ให้บริการในเขตต่างจังหวัด ได้นำเอาตัวอย่างโมเดลธุรกิจและ Data จาก Food Delivery รายใหญ่ๆ อย่าง Grab หรือ Food Panda มาใช้ในการทำธุรกิจ ทำให้ Local Food Delivery สามารถเริ่มต้นธุรกิจนี้ได้อย่างรวดเร็วและเติบโตได้ไม่ยาก ตอบโจทย์ต่อผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย

บ่อยครั้งที่ในการทำ transaction ซื้อของออนไลน์ แล้วผู้บริโภคอยู่ระหว่างขั้นตอนการตัดสินใจเลือกซื้อหรือไม่สะดวกทำตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้นในเวลานั้นๆ ระบบซื้อขายออนไลน์ดังกล่าวจะมีการช่วยแจ้งเตือนจ่ายเพื่อให้ตัดสินใจซื้อและชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการ พร้อมทั้งยังแนะนำสินค้าหรือบริการอื่นๆ ที่ลูกค้ากำลังให้ความสนใจได้อย่างแม่นยำอีกด้วย

สิ่งเหล่านี้เกิดจากการที่ AI ได้รวบรวม Data พฤติกรรมการค้นหา และเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคไว้อย่างละเอียด ทำให้สามารถคาดเดาพฤติกรรมในอนาคตของผู้บริโภคได้ว่า กำลังสนใจอะไร และสินค้าประเภทใดบ้างที่มีโอกาสจะซื้อ

การทำความเข้าใจในตัวลูกค้า (Customer Insight) จะทำให้ธุรกิจของคุณสามารถนำเสนอบริการที่ตรงใจลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง Netflix ที่ใช้ประโยชน์จากการรู้ถึงความชื่นชอบของผู้ใช้งาน แล้วจึงนำเสนอคอนเทนท์ใหม่ๆ ตามความสนใจที่แตกต่างกันให้กับลูกค้าอยู่เสมอ

จึงอาจกล่าวได้ว่า ธุรกิจในปัจจุบันใช้ประโยชน์จาก Big Data ในแง่ของการทำให้เกิด Data-Driven หรือการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ที่องค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ นำมาใช้วิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น

Big Data ทำให้แต่ละธุรกิจมีข้อมูลจำนวนมหาศาลอยู่ในมือ ธุรกิจใดที่สามารถจับความเชื่องโยงภายในกลุ่มข้อมูลเหล่านั้นออกมาได้ จะสามารถสร้างกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่ง และใช้มันเพื่อเข้าถึงตัวลูกค้าได้ก่อนใคร

การมีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างคุ้มค่า จะเป็นกำลังสำคัญให้กับธุรกิจในอนาคต เพื่อช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด จนสามารถแข่งขันกับคู่แข่งอื่นได้

ในยุคที่ Data สำคัญพอๆ กับทองคำ ความเป็นไปของโลกจะเป็นอย่างไรนั้น สามารถคาดการณ์ทิศทางได้จากข้อมูลที่คุณมีอยู่

Big Data เปรียบเสมือนการลงทุนในระยะยาว ที่คุณอาจยังไม่ได้ประโยชน์อะไรจากมันมากนักในช่วงแรก แต่ในอนาคต ข้อมูลมหาศาลที่มีคุณค่าที่คุณถือครองอยู่นั้น จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จให้กับธุรกิจของคุณได้เป็นอย่างมาก

Leave a Comment